ลี้ ๑ หมายถึง ก. หลีกหนีไป, หลบหนีไป.
ก. หลีกหนีภัย, หลบหนีภัย, เช่น ลี้ภัยการเมือง ลี้ภัยสงคราม.
ว. ลึกซึ้ง เหลือรู้เหลือเห็นตามธรรมดา; ที่ซ่อนเร้นอยู่ เช่นบ้านอยู่ในซอกซอยลี้ลับทำให้หายาก; ลับลี้ ก็ว่า.
น. มาตราวัดระยะทางของจีน ๑ ลี้ ยาวประมาณครึ่งกิโลเมตร.
น. ชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ตระกูลทิเบต–พม่า อยู่ทางแถบเหนือของประเทศไทย.
ว. แฟบเพราะไม่เจริญเติบโตตามธรรมดาที่ควรเป็น เช่น ข้าวลีบเมล็ดลีบ; มีเนื้อไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร เช่น ขาลีบ แขนลีบ; โดยปริยายหมายความว่า อาการที่ห่อตัวให้เล็กลงเพราะกลัวหรือเพื่อเข้าในที่แคบเป็นต้น เช่น กลัวจนตัวลีบ เบียดจนตัวลีบ.
น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาทขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าวเพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดินที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูดลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะแก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).
น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง, ลินลากระทุ่ม ก็เรียก.